โรงเรียนเอือดใหญ่พิทยา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดกลาง สังกัด กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ผู้เริ่มก่อตั้งโรงเรียนครั้งแรกประกอบด้วย นายพรม สกุลพล ดำรงตำแหน่งกำนันตำบลเอือดใหญ่ นายประภักดิ์ กัญญะลา ดำรงตำแหน่งเลขานุการสภาตำบลเอือดใหญ่ และสมาชิกสภาตำบลเอือดใหญ่ จากที่ประชุมสภาตำบลเอือดใหญ่ มีมติให้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมประจำตำบลเอือดใหญ่ และดำเนินการจัดการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา ๒๕๑๗ ซึ่งได้รับอนุมัติให้เป็นสาขาโรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร โดยใช้อาคารเรียนโรงเรียนบ้านเอือดใหญ่ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๐ จึงได้รับการยกฐานะเป็นเอกเทศ และเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๒๐ จังหวัดได้มีคำสั่งให้ นายทองพูน ผาลีพัฒน์ อาจารย์จากโรงเรียนมัธยมศึกษาตระการพืชพล อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนเอือดใหญ่พิทยา เป็นทางการคนแรก และเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐบาลได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ โรงเรียนจึงได้ย้ายมาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต ๓ และในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ย้ายมาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๙ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จนถึงปัจจุบัน
ประเภท/ขนาด/สังกัด โรงเรียนมัธยมตำบลขนาดกลาง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๙ กระทรวงศึกษาธิการ ประเภทชาย-หญิงเรียนรวมกัน
สถานที่ตั้งโรงเรียน เลขที่ ๑๔๗ หมู่ ๑ ตำบลเอือดใหญ่ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ๓๔๒๕๐ โทรศัพท์ ๐๔๕-๓๔๖๐๔๐
เนื้อที่ มีพื้นที่ ๓๑ ไร่ ๖๗ ตารางวา
สภาพภูมิศาสตร์ เป็นพื้นที่ราบ มีอาณาเขตติด ดังนี้
ทิศเหนือ ติดที่ดินส่วนบุคคลชาวบ้านหมู่บ้านเอือดน้อย
ทิศใต้ ติดที่ดินส่วนบุคคลของชาวบ้านเอือดใหญ่
ทิศตะวันออก ติดโรงเรียนบ้านเอือดใหญ่
ทิศตะวันตก ติดองค์การบริหารส่วนตำบลเอือดใหญ่
สภาพเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและเกษตรกรรม
จำนวนโรงเรียนเขตพื้นที่บริการ ๑๖ โรงเรียน
การติดต่อสื่อสาร
ผู้อำนวยการโรงเรียน ๐๘๐-๑๕๓๑๙๕๑
รองผู้อำนวยการบริหารวิชาการ ๐๘๙-๔๒๕๒๒๒๔
รองผู้อำนวยการบริหารทั่วไป ๐๘๙-๙๔๘๘๕๑๖
ห้องธุรการ ๐๔๕-๓๔๖๐๔๐
ห้องผู้อำนวยการ/แฟกซ์ ๐๔๕-๓๔๖๐๔๑
Web site www.auedyaipittaya.ac.th
E-mail auedyaipittaya_school@hotmail.com
การคมนาคมขนส่ง ทางรถยนต์ มีรถประจำทางผ่านหน้าซอยทางเข้าโรงเรียนคือ
- รถบัส สายศรีเมืองใหม่ – ตระการ
- รถสองแถว สายศรีเมืองใหม่ – ตระการ
- รถบัส สายโขงเจียม – กรุงเทพ
ไปรษณีย์ มีเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์มารับ-ส่งจดหมายสัปดาห์ละ ๓ วัน
แผนการจัดชั้นเรียนปี ๒๕๖๖ ๔-๔-๓-๓-๓-๓ รวม ๒๐ ห้องเรียน
เอกลักษณ์โรงเรียน ศูนย์อาเซียนศึกษา (ASEAN Study Center)
อัตลักษณ์โรงเรียน ยิ้ม ไหว้ ทายทัก (Smiling And Greeting)
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
รวงข้าว หมายถึง อาชีพหลักของประชาชนในท้องถิ่น
ดอกบัว หมายถึง จังหวัดอุบลราชธานี
เสมา หมายถึง กระทรวงศึกษาธิการ
เจดีย์ หมายถึง ถิ่นรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี
ประกายรัศมี หมายถึง ความสว่างไสวของปัญญา
วิสัยทัศน์ (Vission)
ภายในปี ๒๕๖๕ โรงเรียนเอือดใหญ่พิทยา เป็นองค์กรชั้นนำ ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย ชุมชนร่วมประสาน สืบสาน ภูมิปัญญา สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของ โลกศตวรรษที่ ๒๑
พันธกิจ (Mission)
๑. พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการให้สูงขึ้นและพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
๒. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกคนให้ได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาตามมาตรฐานการศึกษา และมาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย
๓. พัฒนาสถานศึกษาให้มีกระบวนการบริหารและการจัดการองค์กรให้เป็นองกรชั้นนำในทุกด้าน ตามหลัก
ธรรมาภิบาล
๔. พัฒนาและส่งเสริมครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ
๕. พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
๖. พัฒนาสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา
๗. สร้างความร่วมมือระหว่างชุมชน และภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เป้าประสงค์ (Goal)
เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอือดใหญ่พิทยา มีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย โรงเรียนเอือดใหญ่พิทยา จึงกำหนดเป้าประสงค์ ดังนี้
๑. ผู้เรียนร้อยละ ๙๐ มีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการสูงขึ้น และพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนสูงขึ้นร้อยละ ๑๐๐
๒. โรงเรียนมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นปัจุบัน และส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกคนให้ได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาตามมาตรฐานการศึกษา และมาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย
๓. โรงเรียนมีกระบวนการบริหารและการจัดการองค์กรให้เป็นองกรชั้นนำในทุกด้านตามหลัก
ธรรมาภิบาล
๔. ครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ ๑๐๐ มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ
๕. โรงเรียนส่งเสริม พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
๖. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาของผู้เรียน
๗. โรงเรียนสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชน และภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา